ยอดสมุนไพรใบกระท่อม สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม
ยอดสมุนไพรใบกระท่อม ใบกระท่อมได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ใช้ใบสดเป็นของเคี้ยวชูกำลัง บางคนก็ใช้ใบกระท่อมโดยอ้างสรรพคุณทางยาเพื่อลดน้ำตาลในเลือด แต่หลายคนก็ยังกังข ใช้กระท่อมแล้วจะติดไหม มีอาการอย่างไร หากมีสรรพคุณทางยา มีประโยชน์อย่างไร แล้วจะใช้อย่างไร มีโทษไหม
กระท่อมเป็นยาที่คนในสมัยโบราณใช้กันมานานมาก เรียกได้ว่าเป็นยาสามัญที่มีอยู่แทบทุกบ้านเลยก็ว่าได้ ใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนบ้าน ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าสังคมในงานสำคัญ ๆ ต่าง และใช้เป็นยาชูกำลังในการทำงานที่ต้องใช้แรง
กระท่อม ในประเทศไทยมีการน ามาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง และบางพื้นที่กล่าวกันต่อมาว่าสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบมาย่างให้เกรียมและตำผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต ตลอดจนใช้กระท่อมเพื่อทดแทนฝิ่นในท้องที่ซึ่งหาฝิ่นไม่ได้ และบ่อยครั้งมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อควบคุมการติดฝิ่น โดยเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน
ผลจากการใช้กระท่อม พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุขกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นาน และทนแดดมากขึ้น แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้ใช้มี
ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น
อาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ ถ้าใช้ใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทำให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน เมากระท่อม แต่ในบางรายใช้เพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้ ในรายที่ใช้ใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนังทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้าและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าใช้กระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ถุงท่อมในลำไส้ ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ท าให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม
ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ ๐.๕ ในจำนวนนี้เป็นมิตราไจนีน
(Mitragynine) ร้อยละ ๐.๒๕ ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine)
สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน
ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท คือ
1. อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
2. ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 063-649-5638 หรือ 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed