ประโยชน์ของกระท่อม

ประโยชน์ของกระท่อม

หลังจากที่มีการปลดล็อคพืชกระท่อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายคนก็เริ่มที่จะมีการปลูกอยู่พอสมควร ซึ่งอาจจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะนำเสนอต่อทุกท่านให้เข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์ของกระท่อม และได้นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เราไปดูกันในบทความนี้เลยค่ะ

ประโยชน์ของกระท่อม และสรรพคุณทางยาที่ควรใช้ให้ถูกวิธี

ในปัจจุบันพืชกระท่อมได้รับการปลดออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป เริ่มมีผลบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 วันที่ 24 สิงหาคม 64 เป็นต้นมา โดยให้ประชาชนสามารถปลูกพืชกระท่อมได้อย่างเสรีทั้งสามารถปลูกไว้ครอบครองหรือซื้อ ขาย รวมถึงการบริโภคและสามารถส่งขายเป็นพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

ถึงแม้พืชกระท่อมจะถูกปลดออกจากบัญชียาเสพติดแต่ก็ยังมีการออกกฎหมายรองตามมาเพื่อป้องกันการใช้ผิดวิธีเช่นเดียวกัน อาทิ ห้ามขายให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สตรีมีครรภ์ กำหนดสถานที่ห้ามขาย เช่น วัดหรือโรงเรียน ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น รวมถึงกำหนดประเภทธุรกิจการส่งออกหรือนำเข้าที่จะต้องมีการขออนุญาตก่อน

ต้นกระท่อม

สรรพคุณของพืชกระท่อมมีอะไรบ้าง

ใบกระท่อมถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านในการนำสรรพคุณทางยาของพืชแต่ละชนิดมาใช้สำหรับรักษาอาการต่าง ๆ โดยมีสรรพคุณทางยาที่สำคัญ คือ

  1. บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย
  2. รักษาโรคบิด อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ และอาการมวนท้อง
  3. ใช้ทำเป็นยาสมุนไพรสำหรับพอกรักษาแผล
  4. แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยระงับประสาท คลายวิตกกังวล
  5. รักษาโรคเบาหวาน
  6. แก้ไอ
  7. ช่วยขับพยาธิ
  8. ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และช่วยรักษาระดับพลังงาน ทำให้สามารถทำงานได้นานขึ้น

ใบกระท่อม ถูกใช้เป็นยาสมุนไพรในท้องถิ่นมายาวนาน แต่เดิมชาวบ้านจะนิยมเคี้ยวใบสด นำไปตำน้ำพริก หรือนำใบแห้งมาเคี้ยว สูบ รวมถึงชงเป็นน้ำชาเพื่อช่วยให้รู้สึกมีเรี่ยวแรงเมื่อต้องออกไปทำงาน เนื่องจากพืชกระท่อมจะออกฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีน ที่ช่วยกระตุ้นประสาทให้ทำงานได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังนิยมเคี้ยวใบกระท่อมเพื่อแก้อาการท้องผูกอีกด้วย โดยจะมีการใช้ร่วมกับสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยระบายท้อง ถึงแม้ว่าใบกระท่อมจะมีสรรพคุณทางยาในการรักษาและบรรเทาอาการต่าง ๆ แต่หากกินในปริมาณที่มากเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและก่อให้เกิดโทษได้เช่นเดียวกัน รวมถึงยังมีกลุ่มคนที่นำไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสรรพคุณทางยา

อาการข้างเคียงของใบกระท่อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ

นอกจากจะมีประโยชน์แล้ว โทษของใบกระท่อมก็มีเช่นเดียวกันโดยเฉพาะผู้ที่กินใบกระท่อมมากจนเกินไป อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ดังนี้

  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก
  • อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็ก ๆ
  • นอนไม่หลับ
  • ระบบประสาทรับสัมผัสตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  • หากรับประทานในปริมาณมาก ๆ จะทำให้มึนงง คลื่นไส้อาเจียน มีอาการเมากระท่อมร่วมกับอาการหวานระแวง เห็นภาพหลอนหรือพูดจาไม่รู้เรื่อง
  • ผู้ที่รับประทานใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้มีผิวคล้ำและเข้มขึ้น
  • สำหรับผู้ที่รับประทานโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการ “ถุงท่อม” ในบริเวณลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้เกิดเป็นถุงก้อนขึ้นมา

การรับประทานใบกระท่อมไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบ เนื่องจากในใบกระท่อมมีสารสำคัญ คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายฝิ่นแต่มีฤทธิ์น้อยกว่าประมาณ 10 เท่า และ 7-hydroxymitragynine ที่ถึงแม้จะพบสารชนิดนี้ได้น้อยมากในใบกระท่อมสดแต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่ากว่ามอร์ฟีนถึง 100 เท่า

ดังนั้นสำหรับผู้รับประทานใบกระท่อมบางรายอาจก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน โดยทำให้มีอาการใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอน กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ร่วมกับมีความดันโลหิตสูงนั่นเอง

ใบกระท่อม

ถึงแม้ในปัจจุบันกระท่อมจะไม่ถือเป็นยาเสพติดแล้วและมีฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ทางยา แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกันรวมถึงมีความผิดทางกฎหมายหากมีการนำไปใช้แบบผิดวิธี ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับสรรพคุณทางยา

แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการนำไปใช้ในแบบผิดวัตถุประสงค์ อาทิ มีการทำการผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น, มีการขายน้ำต้มกระท่อมในหอพัก สถานศึกษา รวมถึงจำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมแก่สตรีมีครรภ์ และผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ยังถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย ไม่สามารถทำได้อยู่ดี

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับกับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกระท่อม และสรรพคุณทางยาของกระท่อม ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข, กองควบคุมวัตถุเสพติด


หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Website: skycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826 

LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed