มาตรฐาน GAP แนวทางสู่การเกษตรที่ยั่งยืน ปลอดภัย และมีคุณภาพ
การปรับปรุงคุณภาพ และความปลอดภัยในการผลิตอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่เคยหยุดพัฒนา ภายใต้แนวคิดของมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) หรือแนวทางการผลิตเกษตรที่ดี หลายประเทศได้นำมาใช้เพื่อให้การผลิตอาหารมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในบทความวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง มาตรฐาน GAP ให้ทุกท่านได้ เรื่อนรู้ และทราบกัน จะเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย
ในยุคสมัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพ สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้รับความนิยมอย่างมาก มาตรฐานGAP หรือ Good Agricultural Practices จึงถูกนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรให้ตรงตามความต้องการของตลาด
มาตรฐาน GAP คืออะไร
มาตรฐานGAP เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมการผลิตที่มีคุณภาพ และปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
GAP คือ การผลิตทางการเกษตรที่ดี และเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
การนำหลักเกณฑ์ของ GAP มารประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีดังนี้
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP) สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของประเทศไทย จำนวน 169 ชนิด เช่น
- ผลไม้ : ทุเรียน ลำไย กล้วยไข่ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน
- พืช ผัก : มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง
- ไม้ดอก : กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา
- พืชอื่น ๆ : กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา
การตรวจรับรองระบบ GAP ของกรมวิชาการเกษตร ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย
- กระบวนการที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดภัยจากศัตรูพืช
- กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ซึ่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช และรวมไปถึงการจัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของประเทศไทย จำนวนกว่า 160 ชนิด เพื่อเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติตาม
ข้อกำหนด 8 ประการ GAP พืช
มาตรฐาน GAP ครอบคลุมถึงทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูก การจัดการน้ำ การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการจัดเก็บผลผลิต
- น้ำ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากเเหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต
- พื้นที่ปลูก ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิต
- วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องมีการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในสถานที่เก็บที่มิดชิดและใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
- การจัดการคุณภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยว ต้องมีแผนควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพโดยใช้หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
- การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว จะต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า
- การพักผลิตผล การขนย้ายในเเปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
- สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ
- การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานการใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิต เพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ
ความสำคัญของมาตรฐาน GAP
- ช่วยให้ผู้ผลิต มีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพสูง
- เพิ่มความไว้วางใจในสินค้า ที่มีความปลอดภัย และสุขอนามัย
- สร้างความยอมรับในตลาด และเพิ่มมูลค่าของสินค้า
สรุป
มาตรฐาน GAP นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เกษตรกรที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP จะสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ว่าสินค้าเกษตรที่ซื้อมานั้นปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมจะได้รับการดูแลรักษาอย่างยั่งยืน
การปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP อาจต้องใช้ความพยายาม และการลงทุนเพิ่มเติมจากเกษตรกร แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่า GAP ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร และสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ผู้บริโภคก็จะได้บริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมั่นใจได้ว่ามาจากแหล่งผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานGAP จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน ปลอดภัย และมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและอนาคต
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ท่านคงได้รู้เกี่ยวกับ มาตรฐาน GAP กันแล้วนะคะ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องมาตรฐาน GAP หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความวันนี้กันนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
ขอบคุณที่มาข้อมูล : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed