วิธีใช้กัญชาอย่างปลอดภัย
หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อกกัญชากัญชงออกจากยาเสพติด เพื่อมุ่งเน้นให้ใช้ประโยชน์ในเชิงการแพทย์ ทำให้ผู้คนกัญชากันอย่างมาก จนเกิดความน่ากังวลว่าอาจมีการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด จนเกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ในวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) ได้นำความรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้กัญชาอย่างปลอดภัย มาฝากทุก ๆ ท่านกัน จะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยในบทความนี้
วิธีใช้กัญชาอย่างปลอดภัย และได้รับประโยชน์ที่สุด
เช็กวิธีใช้กัญชาอย่างปลอดภัย หลังกัญชาทุกส่วน รวมถึง “ช่อดอกซึ่งมี THC สูง” จะไม่ถูกกำกับดูแลในฐานะสิ่งเสพติดในประเทศไทย
- ก่อนจะใช้กัญชาควรศึกษาความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองในระยะสั้นและระยะยาว ผู้มีโรคประจำตัวปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเฉพาะผู้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช โรคปอด และอย่าลืมเชคว่ายาประจำตัวของเราจะตีกับกัญชาหรือจะถูกสารกัญชารบกวนจนเกิดผลร้ายไหม
- หากอายุน้อยกว่า 25 ปี อย่าใช้ช่อดอกกัญชาหรือสาร THC เนื่องจากมีโอกาสเกิดปัญหาต่อการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทางสมอง โดยเฉพาะด้านการคิดอย่างมีเหตุผลซึ่งพบว่าหากมีการเสื่อมแล้ว แม้หยุดกัญชานานเป็นปีก็ไม่อาจคืนกลับเป็นปกติ (ส่วนทักษะทางภาษาและความจำระยะสั้นสามารถกลับคืนเมื่อหยุดเสพกัญชาได้)
- หากคิดแล้วอยากจะลองใช้จริงๆ ก็ขอให้เริ่มแบบ THC (สารเมาหลอนและเสพติด) ปริมาณน้อย ใครท้าก็อย่าหน้าใหญ่ ไม่งั้นอาจทำให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะในห้องฉุกเฉินหรือ ICU ได้
- การสูบกัญชาแบบเผาไหม้ บารากุ หรือแบบบุหรี่ไฟฟ้าล้วนเกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและเยื่อบุได้ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากตัวกัญชา สารละลาย หรือสารปนเปื้อนอื่น หากมีอาการควรหยุดสูบในทันที
- ผู้ที่จะทดลองสูบ กรูณาสูบอย่าลึกมาก และอย่าอัด-กลั้นไว้ในปอด เพราะจะได้รับปริมาณสารเข้าสู่ร่างกายเยอะ ทั้งสาร THC และสารระคายเคืองต่างๆที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ
- คนรอบตัวที่ไม่ได้สูบยังอาจได้รับควันกัญชาได้ ฉะนั้นควรสูบในที่จัดเป็นสัดส่วนของคนสูบกันเอง เลี่ยงการสูบในที่มีเด็ก คนท้อง หรือผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
- หากใช้กัญชาแล้ว พยายามใช้แต่น้อย และติดตามการใช้ของตนเอง หากจู่ๆเริ่มใช้บ่อยขึ้นเยอะขึ้น เริ่มทำใจไม่ใช้ลำบาก เริ่มเสียเงินกับกัญชาเยอะ หรือเริ่มคิดถึงการใช้กัญชามากจนรบกวรการทำงาน การดำเนินชีวิต หรือความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ต้องระวังว่ามีการติดกัญชาแล้ว ลองปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมการใช้กัญชาไม่ให้ติดจนรบกวนการดำเนินชีวิตมากไปกว่านั้น
- การขับขี่ยานพาหนะขณะที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นต้องแนะนำให้งดการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา และการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาร่วมกับการดื่มสุรา จะทำให้ความสามารถในการขับยานพาหนะลดลงมาก ดังนั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
- การเลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ควรเลือกที่มีความน่าเชื่อถือ ในต่างประเทศที่มีกติกากำกับดูแลผลิตภัณฑ์ จะมีการตรวจสารปนเปื้อน เชื้อโรค และยืนยันระดับสารว่าตรงกับที่ฉลากระบุ ซึ่งก็มีการคัดออกผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เศษปฏิกูลต่างๆออกอยู่
- หากจะซื้อขนมมากินกรุณาเช็คให้แน่ใจว่าเป็นขนมแบบที่เราตั้งใจจะซื้อมากินจริงๆ หากเจอคนรอบตัวบาดเจ็บจากผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมใส่กัญชาโดยที่เจ้าตัวเขาจงใจจะซื้ออาหารหรือขนมธรรมดา (ปนเปื้อนกัญชา หรือใส่กัญชาโดยไม่แจ้งผู้บริโภค) ตั้งสติเก็บรายละเอียดช่องทางการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ที่เหลือ รวมถึงหีบห่อ และติดต่อสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค หรือนำส่งที่โรงพยาบาล
ปลดล็อกกัญชาแล้ว ใช้กัญชาทำอะไรได้บ้าง
- สูบกัญชาได้หรือไม่
กัญชาสามารถสูบได้เพื่อผ่อนคลาย และส่งเสริมสุขภาพจิต แต่จำเป็นจะต้องสูบในที่มิดชิดไม่สูบในที่สาธารณะ หรือสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่น (หลายแหล่งจะใช้คำว่าสูบทางสันทนาการ) เนื่องจากกลิ่น และควันกัญชา กัญชง รวมถึงพืชอื่น ๆ ที่ถูกนำมาใช้สูบในลักษณะเดียวกัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่โดยรอบ เช่น กระตุ้นโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ เป็นต้น และในกรณีที่สูบกัญชามวนจะต้องมีตราสรรพสามิต ไม่อย่างนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
ในคำแนะนำการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ได้มีการแนะนำถึงวิธีสูบว่า ควรเลือกใช้วิธีที่ไม่ใช่การสูบกัญชาแบบเผาไหม้ เช่น การใช้เครื่องระเหยไอน้ำ เนื่องจากการสูบกัญชาแบบเผาไหม้เป็นประจำส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้ สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยยืนยันใช้กัญชาในรูปแบบสูบ ไม่ควรสูดโดยการอัดเข้าไปในปอด หรือสูดลึก ๆ แล้วกลั้นไว้ เพราะจะเป็นการเพิ่มอันตรายต่อปอดได้
นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตยังกล่าวถึงการสูบกัญชาโดยตรง ว่าในกัญชานั้นมี THC ประกอบถึง 12% และมี CBD ไม่ถึง 0.30% เท่านั้น การสูบโดยตรงเพื่อใช้ CBD รักษาโรคจะทำให้ได้รับแต่ THC มากเกินไปเสียเปล่า ๆ ควรสกัดออกมาเสียก่อนจะช่วยดึงประสิทธิภาพของ CBD ได้สูงสุด และลดปริมาณของ THC ลงด้วย
- ปลูกกัญชาได้หรือไม่
จากการปลดล็อกกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 ทำให้ทุกบ้านสามารถปลูกกัญชาในครัวเรือนได้โดยใช้เพื่อทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพเท่านั้น และส่วนที่จะนำมาใช้ได้โดยไม่ผิดกฏหมาย คือสารสกัด CBD หรือ THC ที่ไม่เกิน 0.2%เท่านั้น
การปลูกในครัวเรือนจะไม่มีการจำกัดจำนวนต้น แต่ต้องจดแจ้งลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” โดยผู้ขอจดแจ้งจะต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปซึ่งแอปพลิเคชันปลูกกัญเป็นแอปพลิเคชันของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- ปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ และขายต้นกัญชาทำได้หรือไม่
การปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์นั้นสามารถทำได้ แต่จำเป็นจะต้องขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการขออนุญาต ดังนี้
- เกษตรกรจะต้องขออนุญาตปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์แบบรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตรเท่านั้น
- ต้องมีผู้ซื้อที่สามารถนำกัญชานั้นไปแปรรูปได้ เช่น หน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์, หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด, สภากาชาดไทย
- จัดเตรียมสถานที่เพาะปลูกให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ อย.
สำหรับการขายต้นกัญชานั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณีหลัก ๆ
- กรณีที่หนึ่ง คือ การขายส่วนของพืช ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด
- กรณีที่สอง คือ การขายเมล็ดพันธุ์, กิ่งพันธุ์, สารสกัด ยังคงต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืช รวมไปถึงการขายสารสกัด THC ที่ไม่เกิน 0.2% แต่สำหรับสารสกัดที่ THC เกิน 0.2% ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับสารเสพติดให้โทษด้วย
- นำกัญชามาทำอาหารจำหน่ายให้ถูกกฎหมายอย่างไร
หากต้องการนำกัญชามาประกอบอาหารแล้วจำหน่ายนั้นสามารถทำได้ แต่จะต้องมีการขออนุญาตก่อน อ้างอิงจากข้อมูลจากกองควบคุมวัตถุเสพติดกัญชา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระบุไว้ว่า ส่วนของกัญชา กัญชง และสารสกัด CBD ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อผลิตจำหน่ายนั้นต้องเป็นเฉพาะส่วนของพืชที่กำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เมล็ดกัญชง, น้ำมันจากเมล็ดกัญชง, โปรตีนจากเมล็ดกัญชง, ส่วนเปลือก, ลำต้น, เส้นใย, กิ่ง, ก้าน, ราก, และใบ ซึ่งไม่มียอด หรือช่อดอกติดมาด้วย
ผู้ประกอบการสามารถขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหารเพื่อรับเลขสารบบอาหาร โดยต้องมีมาตรฐาน, เงื่อนไขชนิดอาหารและปริมาณของ CBD และ THC, และแสดงคำเตือนเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด และมีการยื่นขอสถานที่ผลิตอาหารให้เรียบร้อย
นอกเหนือจากการนำมาประกอบอาหารแล้ว การผลิตเป็นเครื่องสำอาง, ยาสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ต้องขออนุญาตก่อนเช่นกัน โดยเป็นไปตามกฑหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ส่วนผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และจุดซ่อนเร้นยังไม่สามารถทำได้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ท่านคงได้รู้ เกี่ยวกับ วิธีใช้กัญชาอย่างปลอดภัย และการใช้กัญชาทำอะไรได้บ้าง กันไปแล้วนะคะ จากข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
ขอบคุณที่มาข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed