กัญชา บริโภคมากเกินเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

กัญชา บริโภคมากเกินเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชา

กัญชา บริโภคมากเกินเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ กัญชา มีสารประกอบกลุ่ม แคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) อยู่ 2 ชนิดสำคัญ ได้แก่ สาร CBD (Cannabidiol) และสาร THC (Tetrahydrocannabinol)

สาร CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้

  • ลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย
  • ลดอาการปวด
  • ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ไม่มีผลต่อจิตประสาท และไม่ก่อให้เกิดการเสพติด

สาร THC (Tetrahydrocannabinol) หรือ สารเมา เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยสารนี้จะออกมาพร้อมกับสาร CBD ตอนสกัดกัญชา หากร่างกายได้รับสาร THC มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย

  • ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ใจสั่น สติแปรปรวน
  • ประสาทหลอน เกิดภาพหลอน หูแว่ว
  • หวาดระแวง แพนิค
  • ความจำระยะสั้นแย่ลง
  • สมองทำงานแย่ลงโดยกะทันหัน
  • มีผลอย่างมากต่อระบบสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยมีผลทั้งด้านความจำ และปริมาณเนื้อสมองที่จะลดลงถึง 10%
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวช หรือมีประวัติครอบครัว เพิ่มความเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนอย่างถาวร สูงถึง 20%

อาการดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะหยุดการบริโภคไปแล้ว อาการก็อาจจะไม่ดีขึ้น โดยพบว่าสาร THC จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 1-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการบริโภค

กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง กัญชา ใครบ้าง

  • เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบ
  • ประสาทและสมอง

กัญชาใช้เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ

  • กัญชาทางการแพทย์
  • กัญชาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
  • อาหารเสริมกัญชา

ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา

ผลกระทบระยะสั้น

  • ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
  • ความรู้สึกเชื่องช้ากระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
  • หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
  • สมาธิสั้น
  • การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
  • อารมณ์แปรปรวน

ผลกระทบระยะยาว

  • ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
  • สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจาก
  • การการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
  • สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
  • เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
  • มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
  • ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม

แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะอนุญาตให้ปลูกตามบ้านได้แล้ว โดยสามารถใช้ส่วนประกอบของพืช ยกเว้น ช่อ ดอก ยาง น้ำมัน ในการทำอาหาร ซึ่งถือเป็นส่วนที่ห้ามใช้เนื่องจากมีสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบสมองและหลอดเลือด การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกัญชา กัญชง ไปสกัดเพื่อให้ได้สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ยังคงต้องแจ้งขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ

กัญชาและกัญชง มีทั้งประโยชน์และโทษ เราควรทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษในการบริโภค ระมัดระวังในการใช้ความร้อนในการปรุงเพื่อนำมาบริโภค และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะมีประโยชน์ในทางการแพทย์


หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Websiteskycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826