ทำความรู้จักกัญชาก่อน หาคำตอบที่ว่า กินอาหารที่มีกัญชาทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยหรือไม่
ในบทความวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ กินอาหารที่มีกัญชาทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยหรือไม่ มาฝากทุกท่านกัน จะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย
กัญชา พืชสมุนไพรที่นอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ คือ ใบสดกัญชา เช่น ใบกัญชาอ่อน หรือใบเพสลาด (ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป) ใบกัญชามีกรดกลูตามิก (Glutamic acid) ที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้กลมกล่อม และสารTetrahydrocannabinol : THC ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมเมื่อกินไปแล้วจึงรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นนั่นเอง แต่การนำมาใช้ประกอบอาหารนั้นต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย
ใบสดกัญชามีสาร Cannabidiolic acid : CBDA และสาร Tetrahydrocannabinolic acid : THCA ที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่ใช่สารเมา) แต่ THCA สามารถเปลี่ยนเป็นสาร THC หรือสารเมาได้ ด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น เมื่อถูกแสงแดด สภาพอากาศร้อน และอุณหภูมิที่สูง หากใบกัญชาอยู่ในสภาวะต่อไปนี้จะทำให้สาร THCA ในใบกัญชาสามารถเปลี่ยนเป็น สาร THC ได้อย่างสมบูรณ์ คือ
- อุณหภูมิ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง
- อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
- อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที
- อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เพียง 1-2 วินาที
นอกจากนี้ในใบกัญชาแห้งที่เก็บไว้ สาร THCA จะเปลี่ยนเป็น สาร THC อย่างช้า ๆ ได้เช่นเดียวกันอย่างไรก็ตามการนำใบกัญชามาประกอบอาหารนั้นยังสามารถทำได้ เเต่ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และกรรมวิธีการปรุงต้องถูกต้อง หากเป็นการปรุงอาหารด้วยน้ำ สาร THC จะละลายออก มาน้อยมาก ต่างจากการผ่านความร้อนสูงหรือทอดด้วยน้ำมัน สาร THC จากใบจะละลายอยู่ในน้ำมันส่วนหนึ่ง และหากใช้ระยะเวลาปรุงนานสาร THC ก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้น
คำตอบที่ว่า กินอาหารที่มีกัญชา ทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยหรือไม่
การบริโภคอาหารที่มีกัญชา อาจทำให้เสพติดกัญชาได้ โดยปกติแล้วการบริโภคกัญชาผ่านทางการรับประทานอาหาร ไม่ได้เกิดผลกระทบที่มากมาย เหมือนการสูบหรือดื่มสารกัญชาโดยตรง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะรับผลข้างเคียง อาการที่เกี่ยวข้องกับกัญชา เช่น ความรู้สึกอิสระ ความสบาย หรือผลข้างเคียงอื่นๆ แม้ว่าความเสี่ยงจะน้อยกว่าการสูบหรือดื่มสารกัญชาโดยตรง แต่ก็ควรระวังและใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เสพติดกัญชา
อาการเมื่อกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา
การรับประทานอาหารที่ผสมกัญชา ออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับการเสพ แต่ช้ากว่า จึงพบอาการข้างเคียงจากการใช้กัญชาในปริมาณเกินขนาดจนเกิดอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม การออกฤทธิ์จะขึ้นกับชนิด ปริมาณของสารสำคัญ และการตอบสนองที่แตกต่างกันในแต่ละคน การรับประทานจะไม่ทำให้กลิ่นติดตัวเหมือนการสูบ
ทั้งนี้ จะไม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกว่ามีกัญชา ผสมหรือไม่ แต่อาจสังเกตที่สัญลักษณ์บนฉลากจะมีคำว่า cannabis, THC, CBD หรือ Hemp ต้องระมัดระวัง และไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า และให้ความรู้กับเยาวชนเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน
ในกรณีสูบกัญชาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง แต่การรับประทานใช้เวลาในการออกฤทธิ์นานราวหนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่า และจะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย และถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีไม่เคยเสพกัญชา จะอยู่ในร่างกายได้นาน 2-5 วัน
กินอาหารที่มีกัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย
- กินกัญชาที่ซื้อจากแหล่งปลูก และแหล่งจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต หรือจดแจ้งเรียบร้อย
- กินเมนูกัญชาในปริมาณเพียงเล็กน้อย ถ้าเพิ่งเริ่มกินควรกินวันละไม่เกิน 1 ใบ
- ไม่ควรกินกัญชาแบบทั้งใบ หรือใบที่ผ่านความร้อน เกิน 5-8 ใบต่อวัน
- การกินกัญชาที่ผ่านความร้อน รวมถึงกินกัญชาร่วมกับอาหารที่มีไขมันสูง ความร้อนและไขมันจะสกัดสาร THC ออกจากกัญชาได้มากขึ้น จึงไม่ควรกินมากเกินไป
- ไม่ควรกินใบกัญชาแก่ หรือแห้งเพราะมีสาร THC ในปริมาณมาก
- ไม่กินกัญชาร่วมกับแอลกอฮอล์
สรุป
การบริโภคอาหารที่มีกัญชา ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เสพติดกัญชาโดยตรง แต่อาจมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่สนใจควรเข้าใจความเสี่ยงนี้และใช้อย่างระมัดระวัง โดยระมัดระวังการบริโภคให้เหมาะสมกับสุขภาพ และสภาพจิตใจของตนเอง
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 063-649-5638 หรือ 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed