สารสำคัญในกระท่อม สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม
สารสำคัญในกระท่อม พืชกระท่อมเป็น 1 ในพืช 4 ชนิดที่อยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แก่ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น และเห็ดขี้ควาย
ไมทราไจนีน สารสำคัญที่พบเฉพาะในพืชกระท่อม
การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่าสารที่พบในกระท่อมมากที่สุด เป็นสารกลุ่ม อัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลายระบบ และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง สารสำคัญที่พบคือ ไมทราไจนีน ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ
นอกจากนี้ยังพบสารสกัดจากใบกระท่อมที่สำคัญ เช่น 7-hydroxymitragynine ที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้คล้ายกับการใช้มอร์ฟีน แม้จะมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีน แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน พัฒนาการในการติดยาช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปีกระท่อมเป็นพืชวงศ์กาแฟ
กระท่อมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง ในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์แตงกวา พันธุ์ยักษาใหญ่ และพันธุ์ก้านแดง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และยังพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น อีด่าง อีแดง กระอ่วม ท่อมหรือท่ม
พืชกระท่อมมีสรรพคุณทางยา
1. การใช้รักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง
- เคี้ยวใบกระท่อมให้ละเอียด ดื่มน้ําตาม
- ต้มใบกระท่อม เกลือ น้ําตาลทรายแดง กินแก้ปวดท้อง
- เปลือกต้นกระท่อม เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นมะขาม หนักอย่างละ 50 กรัม หัวขมิ้นชัน (แก่) หัวกระทือ (แก่) อย่างละ 1 หัว เผาไฟพอสุก ต้มรวมกับน้ําปูนใส น้ํา ธรรมดาอย่างละเท่าๆ กัน รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนแกง เมื่อหายจึงหยุด
2. รักษาโรคเบาหวาน
- ใช้กระท่อมทั้ง 5 (ใบ กิ่ง เปลือกต้น รากเนื้อไม้ หรือใช้ต้นกระท่อมต้นเล็ก สูงประมาณ 1 ศอก 1 ต้น) สับใส่หม้อตามวิธี รับประทานครั้งละ 3-5 ซ้อนแกง เช้า-เย็น
- เคี้ยวใบกระท่อม วันละ 1 ใบ นาน 41 วัน
- ต้มใบกระท่อม หญ้าหนวดแมว ไม้ค้อนตีนหมา อย่างละเท่ากัน ต้มน้ํา 3 เอา 1 ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้า-เย็น
- ใบกระท่อม อินทนินน้ํา กระเทียมต้น กระเทียมเถา ต้มน้ําดื่ม
3. แก้ปวดเมื่อย
- เถาวัลย์เปรียง มะคําไก่ มะแว้งต้น มะแว้งเครือ เถาโคคลาน เถาสังวาล พระอินทร์ หญ้าหนู ต้นผักเสี้ยนผี แก่นขี้เหล็ก ใบมะกา อย่างละ 1 ส่วน เนื้อในฝัก ราชพฤกษ์ 5 ฝัก ใบกระท่อม 2 ส่วน เถากําแพงเจ็ดชั้น 3 ส่วน ต้มตามวิธี ใช้รับประทาน ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ครึ่ง-1 ถ้วยกาแฟ
4. แก้ไอ
- ใช้ใบสด 1-2 ใบ ต้มกับน้ําตาลทรายแดง ดื่มแก้ไอ หรือเคี้ยวใบสด คายกาก และดื่มน้ําตามมากๆ
5. ขับพยาธิ
- ใช้ใบสดขยี้กับปูน (กินหมาก) ทาท้อง ฯลฯ
โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา กลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรบริโภคใบกระท่อมเพื่อกดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทำให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ชาวบ้านในภาคใต้ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว รวมทั้งรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกรวบรวมตำรับยาแพทย์แผนโบราณที่ใช้พืชกระท่อมได้ 18 ตำรับทั้งหมดเป็นคัมภีร์ยาหลวงทั้งสิ้น เช่น ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตำรายาโรงพระโอสถ ตำรายาศิลาจารึกวัดโพธิ์ ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์เจ้ากรมหมอหลวง ตำราเวชศึกษาของพระยาพิศณุประสาทเวช ตำรายาแพทย์ตำบลของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี และคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เป็นต้น
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 063-649-5638 หรือ 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed