สารสำคัญ ใน ใบ กระท่อม

สารสำคัญ ใน ใบ กระท่อม ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม

สารสำคัญ ใน ใบ กระท่อม กระท่อม เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีสรรพคุณทางยา อีกทั้งในต่างประเทศก็ใช้ประโยชน์ของใบกระท่อมอย่างเสรีมาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน ดังนั้นหลังจากที่มีประกาศถอนกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภท 5 พืชชนิดนี้ก็กลายเป็นประเด็นที่คนสนใจกันมาก ทั้งในแง่ของการส่งเสริมพืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ และการวิจัยเพื่อรักษาโรค ฉะนั้นอย่ารอช้า เรามาเจาะสรรพคุณทางยาของใบกระท่อมกันเลยว่า พืชชนิดนี้มีประโยชน์ดี ๆ อะไรบ้าง

ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ ๐.๕ ในจำนวนนี้เป็นมิตราไจนีน (Mitragynine) ร้อยละ ๐.๒๕ ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine)
สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน
ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท คือ

  • อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
  • ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
  • ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
  • กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)

สรรพคุณทางยา
สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภท ยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท ในมุมมองของแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ จะนำพืชใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้ แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่าอีกทั้ง แม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทําให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ การนำใปใช้ในทางที่ผิด ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทํ้าให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำนํ้า กระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม คือ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อประสาทส่วนกลาง ตับและไตบกพร่อง หรือกลุ่มที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องย้ำเตือน คือ กระท่อมหากกินมากและใช้ติดต่อกันนานๆ จะมีผลเสียต่อสุขภาพ จึงไม่ควรกินก้านใบ และใบแก่ เพราะไม่สามารถย่อยได้ ทำให้ท้องผูก และการใช้ในปริมาณมากๆ ชนิดมากกว่า 15 กรัมต่อวัน จะทำให้เมา มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เห็นภาพหลอน อาการข้างเคียงที่อาจพบ คือ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร เป็นต้น


หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Websiteskycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826 

LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed