เปิดความรู้ ใบกระท่อม กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มิตราไจนา สเปซิโอซา คอร์ท (Mitragyna SpeciosaKorth) จัดอยู่ในตระกูล รูเบียซีอี (Rubiaceae) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินีด้วย ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๓ พันธุ์ คือ ก้านแดง หางกั้ง แตงกวา ก้านเขีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียก ท่อม หรือท่ม ในมลายูเรียกคูทุม หรือ คีทุมเบีย ลาวเรียก ไนทุม อินโดจีน เรียก โคดาม
เปิดความรู้ ใบกระท่อม สรรพคุณและผลเสียจาก ใบกระท่อม
สรรพคุณ ใบกระท่อม
สรรพคุณพื้นบ้านใช้เป็นยาชูกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ นอนไม่หลับ โดยส่วนใหญ่ใช้การเคี้ยวใบสด หรือนำใบแห้งชงเป็นชา นอกจากนี้ ในตำรับยาไทย ยังรักษาท้องร่วง ทั้งนี้ ไม่ควรกินมากเกินไป ควรกินตามคำแนะนำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ง่วง ซึม หรืออาจหมดสติได้ในบางคน ขณะเดียวกันหากกินมากบางคนมีอาการท้องผูกได้ ส่วนผู้ที่เป็นความดัน หากความดันไม่ได้สูงมาก สามารถควบคุมได้ ก็ทานได้ เพียงแต่ต้องปริมาณที่แนะนำ
อาการของใบกระท่อม มีลักษณะคล้ายกับแอมเฟตามีน คือ เบื่ออาหาร ทำงานได้มากเกินปกติ ตื่นเต้น เพราะประสาทถูก กระตุ้น แต่ยังไม่เคยมีรายงานผู้เสพติด ใบกระท่อมก่อปัญหาอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุ เหมือนที่ได้รับรายงานกรณีผู้เสพติดแอมเฟตามีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม.
ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. แหล่งที่พบ ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของ
ประเทศมาเลเซีย
สารสำคัญ ในใบกระท่อม
ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ ๐.๕ ในจ านวนนี้เป็นมิตราไจนีน ร้อยละ ๐.๒๕ ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีนไพแนนทีน สเปซิโอซีเลียทีนตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท
1. อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
2. ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)
แนะนำ: ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม คือ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อประสาทส่วนกลาง ตับและไตบกพร่อง หรือกลุ่มที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องย้ำเตือน คือ กระท่อมหากกินมากและใช้ติดต่อกันนานๆ จะมีผลเสียต่อสุขภาพ จึงไม่ควรกินก้านใบ และใบแก่ เพราะไม่สามารถย่อยได้ ทำให้ท้องผูก และการใช้ในปริมาณมากๆ ชนิดมากกว่า 15 กรัมต่อวัน จะทำให้เมา มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เห็นภาพหลอน อาการข้างเคียงที่อาจพบ คือ ปากแห้ง
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed