ใบ กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา สรรพคุณพื้นบ้าน
ใบ กระท่อม สรรพคุณ พืชกระท่อม ได้รับการปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป นำไปสู่ขั้นตอนการร่าง พ.ร.บ.พืชกระท่อม เพื่อควบคุมรายละเอียดการปลูกและการจำหน่าย จึงทำให้หลายคนเริ่มสนใจประโยชน์ของ ใบกระท่อม ซึ่งแต่เดิมเป็นพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่มี ประโยชน์ พืชกระท่อม ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้
รู้จักประโยชน์ของ ใบกระท่อม มีสรรพคุณทางยาอย่างไร
กระท่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa เป็นไม้ยืนต้นที่นิยมเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทยพบมากในพื้นที่ภาคกลาง และพื้นที่ป่าธรรมชาติของภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ส่วนใบของพืชกระท่อม หรือใบกระท่อม ถูกใช้เป็นยา สมุนไพรในท้องถิ่น มายาวนาน แต่เดิมชาวบ้านนิยมเคี้ยวใบสด หรือนำไปตำน้ำพริก เพื่อช่วยให้รู้สึกมีเรี่ยวแรงเมื่อต้องออกไปทำไร่นา เนื่องจากพืชกระท่อมจะออกฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีน กระตุ้นประสาทให้ทำงานได้มากขึ้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 กระท่อมถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ชนิดเดียวกับกัญชา ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มาตรา 7 ก่อนจะถูกปลดล็อกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2564
ใบกระท่อมถือเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการนำพืชมาใช้รักษาอาการต่างๆ ในสมัยที่คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ได้ โดยในปัจจุบันมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของพืชกระท่อม ที่สามารถนำมาสกัดใช้ในทางสุขภาพได้ โดยมีสรรพคุณทางยา ดังนี้
ใบกระท่อมถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านในการนำสรรพคุณทางยาของพืชแต่ละชนิดมาใช้สำหรับรักษาอาการต่าง ๆ โดยมีสรรพคุณทางยาที่สำคัญ คือ
- บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย
- รักษาโรคบิด อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ และอาการมวนท้อง
- ใช้ทำเป็นยาสมุนไพรสำหรับพอกรักษาแผล
- แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยระงับประสาท คลายวิตกกังวล
- รักษาโรคเบาหวาน
- แก้ไอ
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และช่วยรักษาระดับพลังงาน ทำให้สามารถทำงานได้นานขึ้น
สรรพคุณพื้นบ้านใช้เป็นยาชูกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ นอนไม่หลับ โดยส่วนใหญ่ใช้การเคี้ยวใบสด หรือนำใบแห้งชงเป็นชา นอกจากนี้ ในตำรับยาไทย ยังรักษาท้องร่วง ทั้งนี้ ไม่ควรกินมากเกินไป ควรกินตามคำแนะนำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ง่วง ซึม หรืออาจหมดสติได้ในบางคน ขณะเดียวกันหากกินมากบางคนมีอาการท้องผูกได้ ส่วนผู้ที่เป็นความดัน หากความดันไม่ได้สูงมาก สามารถควบคุมได้ ก็ทานได้ เพียงแต่ต้องปริมาณที่แนะนำ
อาการของใบกระท่อม มีลักษณะคล้ายกับแอมเฟตามีน คือ เบื่ออาหาร ทำงานได้มากเกินปกติ ตื่นเต้น เพราะประสาทถูก กระตุ้น แต่ยังไม่เคยมีรายงานผู้เสพติด ใบกระท่อมก่อปัญหาอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุ เหมือนที่ได้รับรายงานกรณีผู้เสพติดแอมเฟตามีน
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed