บุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม
แม้ว่าใบกระท่อมจะมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ แต่การใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด หรือการใช้ในปริมาณมาก อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน ในบทความวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) เราจะพูดถึง บุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม มาฝากทุกท่านกัน จะเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย
ในใบกระท่อมพบว่ามีสารสำคัญ คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายฝิ่น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าประมาณ 10 เท่า และ 7-hydroxymitragynine พบน้อยมากในใบกระท่อมสด แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่ากว่ามอร์ฟีน 100 เท่า
กลุ่ม บุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม มีดังต่อไปนี้
การใช้ใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ อาจมีข้อควรระวังบางประการ บุคคลที่มีเงื่อนไขหรืออาการที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ใบกระท่อมควรระมัดระวัง ดังนั้น ข้อควรคำนึงถึงผู้ที่ควรหลีกเลี่ยง การใช้ใบกระท่อม มีดังนี้
- เด็กและเยาวชน
- ร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชนยังอยู่ในช่วงพัฒนา การใช้ใบกระท่อมอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ และพฤติกรรม
- เสี่ยงต่อการเสพติด ยากต่อการเลิก และอาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดอื่น ๆ
- สตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร
- สารออกฤทธิ์ในใบกระท่อม อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำ
- สารออกฤทธิ์ในใบกระท่อม อาจปนเปื้อนในน้ำนมแม่ ส่งผลต่อพัฒนาการของทารก
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคระบบประสาท โรคจิต
- การใช้ใบกระท่อมอาจเพิ่มอาการของโรค หรือส่งผลต่อยาที่ใช้รักษาโรค
- ผู้ที่แพ้ยา
- ผู้ที่มีอาการแพ้ยา โดยเฉพาะยาในกลุ่มโอปิออยด์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม
- เสี่ยงต่ออาการแพ้รุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวม คัน
- ผู้ที่กำลังขับขี่ หรือทำงานกับเครื่องจักร
- การใช้ใบกระท่อมอาจส่งผลต่อสมาธิ การตัดสินใจ และการประสานงาน
- เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อันตรายต่อตนเอง และผู้อื่น
- ผู้ที่กำลังรับการรักษาด้วยยาบางชนิด
- การใช้ใบกระท่อมอาจเกิดปฏิกิริยาร้ายแรงกับยาบางชนิด
- ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ใบกระท่อมร่วมกับยาอื่น
- ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ หรือสารเสพติด
- การใช้ใบกระท่อมอาจทำให้เลิกบุหรี่ หรือสารเสพติดได้ยากขึ้น
- เสี่ยงต่อการกลับมาเสพสารเสพติดอีกครั้ง
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
- การใช้ใบกระท่อมอาจเพิ่มอาการของโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคจิตอื่น ๆ
- เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
การรับประทานใบกระท่อม
การรับประทานใบกระท่อม ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบ โดยรูดก้านใบออก แล้วเคี้ยวเหมือนการเคี้ยวหมาก และไม่ควรกลืนกาก เพราะกากใบเป็นเส้นใยที่ย่อยยาก เมื่อรับประทานบ่อย ๆ อาจทำให้เกิด ‘ถุงท่อม’ ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ในท้อง และทำให้ปวดท้องได้
การใช้ใบกระท่อมอย่างปลอดภัย
- ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรมากเกินไป
- เลือกซื้อใบกระท่อมจากแหล่งที่เชื่อถือได้
- ไม่ใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารกระตุ้นอื่น ๆ
- สังเกตอาการผิดปกติ หากพบอาการไม่พึงประสงค์ ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับใบกระท่อมอย่างรอบคอบ
- ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนใช้
แหล่งที่จำหน่ายใบกระท่อม เชื่อถือได้
ทางบ้านหนองทองจันทร์ฟาร์มของเรามี ใบกระท่อม หรือ กระท่อมแบบผงจำหน่าย และยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ โทร : 064-530-2826 หรือ คลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย
ใบกระท่อม เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ แต่การใช้ที่ผิด อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ ควรใช้อย่างมีสติ รับผิดชอบ และคำนึงถึงความปลอดภัย
สรุป
การใช้ใบกระท่อมในทางการแพทย์ มีข้อควรระวังและข้อจำกัดบางประการ บุคคลที่มีอาการ หรือเงื่อนไขที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ใบกระท่อมควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ท่านคงได้รู้เกี่ยวกับ บุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อมกันแล้วนะคะ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องใบกระท่อม หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความวันนี้กันนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed