กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่

กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่

เคยสงสัยกันไหมว่ากัญชาจากที่เคยเป็นยาเสพติด แล้วได้มีการปลดล็อกจากยาเสพติดนั้นจะสามารทำให้เสพติดได้หรือไม่ ในวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand)  ได้รวบรวมข้อมูลสาระน่ารู้ เกี่ยวกับ กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่ มาฝากทุก ๆ ท่านกัน จะเป็นอย่างไร เราไปดูพร้อม ๆ ในบทความนี้กันเลย

กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาที่คุณควรรู้และต้องระวัง!

“กัญชา” กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในฐานะของ “ยารักษาโรค” แต่ในความเป็นจริงแล้ว กัญชาไม่ยาวิเศษสำหรับทุกคน และยังอาจทำให้คุณเสพติดได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่นๆ

เวลาที่คนเราคิดถึงยาเสพติด ทุกคนมักจะนึกถึงยาเสพติดอันตรายอย่างเช่น ยาไอซ์ ยาเค ยาบ้า เฮโรอีนหรือโคเคน มากกว่ากัญชา แต่นั่นคือสิ่งที่ทำให้กัญชาเป็นอันตราย เพราะผู้ที่เสพติดกัญชาส่วนใหญ่ มักจะไม่มองว่าการใช้กัญชาเป็นการเสพติด และสามารถถลำลึกไปกับการเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้การทำให้บางส่วนของกัญชากลายเป็นสิ่งถูกกฎหมายอยู่ในทุกวันนี้ ก็อาจทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชาและการเสพติดกัญชามากขึ้น จนอาจ “การ์ดตก” กับสารเสพติดชนิดนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็เป็นอันตรายต่อผู้เสพติดได้ ไม่น้อยไปกว่าการติดสารเสพติดอื่นๆเลย

กัญชามีประโยชน์ แต่ก็มีโทษเช่นกัน

กัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ซึ่งมีสารสาคัญคือแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มากกว่า 100 ตัว โดยมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) และ Cannabidiol (CBD) เป็นสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางการแพทย์

โดยสาร THC ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ส่วนสาร CBD ก็ใช้ในการลดปวดและควบคุมอาการชักได้

แต่ในความมีประโยชน์ สาร THC ก็มีโทษที่ไม่น้อยไปกว่ากัน โดย ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยระบุว่า การได้รับสาร THC ในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจและความจำ

นอกจากนี้การใช้สาร THC ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร (tolerance) ทำให้ต้องมีการเพิ่มขนาดเพื่อจะให้ได้ผลเท่าเดิม และเกิดการเสพติดได้ องค์การอนามัยโลกจึงจัดสาร THC เป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 คือมีโอกาสเสพติดได้ มีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิด แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์

นอกจากนี้จากรายงานของสภาเภสัชกรรมแห่งประเทศไทยเรื่อง “พืชกัญชา: ประโยชน์ โทษ และข้อเสนอการพัฒนาการกำกับดูแล” โดย ภก.ชาญชัย เอื้อชัยกุล ก็ชี้ว่า กัญชายังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น

  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และอาจมีผลเป็นมะเร็งจากสารก่อมะเร็ง
  • ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด กัญชาจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และมีความสัมพันธ์กับผลไม่พึงประสงค์ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน
  • ผลต่อเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของสมอง เช่น สมาธิ ความจำช่วงสั้น การรับรู้เวลา และเชาวน์ปัญญาขั้นสูงอย่างการคิดเลขในใจ
  • ผลต่อความผิดปกติทางจิต โดยกรมการแพทย์ของไทยเผยว่า ผู้ป่วยเสพติดกัญชามีการเกิดโรคจิตเวชสูงถึงร้อยละ 72.3 รองลงมาคือโรคจิต อารมณ์แปรปรวน และวิตกกังวล

กัญชาเสี่ยงต่อการเสพติดขนาดไหน

คนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่า กัญชาไม่ทำให้เกิดการเสพติดเหมือนกับยาเสพติดชนิดอื่น หากในความเป็นจริงแล้ว หน่วยงาน National Institute on Drug Abuse (NIDA) ในสหรัฐฯ ชี้ว่า ราวร้อยละ 9 ของผู้ที่ใช้กัญชาจะเกิดอาการเสพติดขึ้นได้ และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 17 หากเริ่มต้นใช้กัญชาในช่วงวัยรุ่น และเพิ่มเป็นร้อยละ 25-50 ในกลุ่มที่ใช้กัญชาทุกวัน

ความเชื่อที่ว่ากัญชาไม่ทำให้เสพติดหรือมีอันตรายน้อยกว่ายาเสพติดอื่นๆ ทำให้กัญชากลายมาเป็นยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในโลก โดยสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ระบุว่า ประชากรโลกระหว่าง 119-224 ล้านคน เสพกัญชาในรูปของกัญชาแห้ง ยางกัญชาและอื่นๆ

ส่วนในประเทศไทย กัญชาก็เป็นหนึ่งในยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด และที่น่าวิตกไปกว่านั้นก็คือ จากการเปิดเผยของ ป.ป.ส. เมื่อเดือนธันวาคม 2562 พบว่าหลังจากที่มีการผ่อนปรนการใช้กัญชาทางการแพทย์ ทำให้สถิติของผู้เสพยาเสพติดที่เพิ่มขึ้น 1.3 แสนรายนั้น เป็นผู้เสพกัญชาเกือบทั้งหมด รวมถึงมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจากการใช้กัญชาพุ่งขึ้นเป็นร้อยเท่าตัว

กัญชายังได้ชื่อว่าเป็น “ประตูบานแรก” ที่เปิดไปสู่ยาเสพติดชนิดอื่นที่แรงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย

***ดังนั้น ถึงแม้กัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่โทษในเรื่องของการเสพติดนั้นไม่ใช่สิ่งที่อาจมองข้ามได้เลย**

สัญญาณของการใช้กัญชาหรือเสพติด

การเสพติดกัญชาอาจไม่ได้สังเกตได้ชัดเจนเหมือนยาเสพติดชนิดอื่นๆ แต่หากคุณเป็นห่วงว่า คนที่คุณรักอาจกำลังใช้หรือเสพกัญชา ลองสังเกตสัญญาณต่อไปนี้เพื่อเป็นขั้นตอนแรกในการค้นหา

  • ดวงตาแดงก่ำเหมือนเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก
  • ริมฝีปากแห้ง
  • ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักขึ้น
  • เฉื่อยชา ขาดแรงจูงใจ
  • พฤติกรรมหวาดระแวงหรือประสาท
  • ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง
  • ความจำไม่ดี
  • ง่วงซึม
  • การเคลื่อนไหวเชื่องช้า

เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ ท่านคงได้รู้เกี่ยวกับ กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาที่คุณควรรู้และต้องระวัง กันไปแล้ว จากข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

ขอบคุณที่มาข้อมูล : thedawnwellnesscentre.co.th


หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Website: skycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826 

LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed