การปลูกกัญชากลางแจ้ง หรือระบบเปิด (Outdoor)
การปลูกกัญชานั้นมี 3 รูปแบบด้วยกัน การปลูกแบบ Indoor , การปลูกแบบ Outdoor และ การปลูกแบบ Greenhouse ท่านใดที่กำลังศึกษาวิธีในการปลูกกัญชาอยู่และยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะ ปลูกกัญชาแบบไหนดี ในวันนี้เรามาทำความรู้จักกับ การปลูกกัญชากลางแจ้ง หรือระบบเปิด (Outdoor) เพื่อที่จะได้รู้จักระบบการปลูกกัญชาให้มากขึ้น เราไปดูกันในบทความนี้กันเลยค่ะ
การปลูกกัญชากลางแจ้ง หรือระบบเปิด (Outdoor) คืออะไร
การปลูกกัญชา Outdoor คือ การปลูกกัญชากลางแจ้งเหมือนกับการปลูกพืชทั่ว ๆ ไป สามารถปลูกลงดินในสวนหลังบ้านหรือในกระถางริมระเบียงโดยให้พืชได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ และรับน้ำจากฝนที่ตกลงมาเป็นครั้งคราว การปลูกโดยไม่ได้ควบคุมปัจจัยภายนอกลักษณะนี้เรียกว่าการปลูก Outdoor
การปลูกกัญชา Outdoor เป็นการปลูกที่หลายๆ คนกลัว เพราะไม่สามารถควบคุมชั่วโมงแสง สารอาหารในดินหากปลูกลงดิน อุณหภูมิ ระดับ CO2 และความชื้น อย่างไรก็ตามเมื่อไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกอย่างเรื่องแสงแดดทำให้ไม่สามารถควบคุมการออกดอกของต้นกัญชาได้เช่นกัน เนื่องจากต้นกัญชาโดยทั่วไปจะรับรู้ช่วงเวลาออกดอกก็ต่อเมื่อชั่วโมงแสงที่พืชได้รับเปลี่ยนไป
ในประเทศไทยหากต้องการปลูก Outdoor ควรปลูกในเดือนกันยายน – ตุลาคม และต้นจะเข้าสู้ช่วงทำดอกในเดือนธันวาคม – มกราคม (ในช่วงทำดอกไม่ควรเป็นหน้าฝน) ในกรณีที่ต้องการลดความยุ่งยากในการปลูก Outdoor ตามช่วงฤดูกาล สามารถปลูกกัญชา Auto ที่ออกดอกอัตโนมัติภายใน 3 เดือนจะง่ายที่สุด
การเลือกสายพันธุ์กัญชาสำหรับ การปลูกกัญชากลางแจ้ง Outdoor
ในการปลูกสำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ยังไม่มีความชำนาญ ในการปลูกกัญชาแบบ Outdoor ควรเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพอากาศ อุณหภูมิและช่วงเวลาที่จะทำการปลูก ความทนต่อแมลงหรือศัตรูพืชได้ดี
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์กัญชาที่จะนำมาใช้ควรเป็นเมล็ดที่ใหม่สด เมล็ดดูดี้ แข็งแรง สายพันธุ์ดี ขนาดของความสูงของสายพันธุที่จะใช้ดูจากสถานที่ที่ปลูกว่ามีพื้นที่เหมาะสมหรือไม่
สำหรับความสูงของต้นกัญชาที่จะปลูกการปลูกกัญชาแบบ Outdoor สายพันธุ์ที่หมาะสมจะเป็นสายพันธุ์กัญชาประเภท Photo และเป็นชนิดสายพันธุ์กัญชา Sativa หรือ Hybrid เพราะต้นกัญชาจะสูงใหญ่ ให้ผลผลิตสูง และทนต่อสภาพอากาศร้อนของประเทศไทยได้ดี
ปัจจัยสำคัญในการปลูกกัญชากลางแจ้ง
น้ำ
ความสำคัญของน้ำ สำหรับปลูกกัญชา
น้ำเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในต้นกัญชา น้ำมีบทบาทในการทำละลาย และจะละลายแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ และลำเลียงสารอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุง ส่งไปที่ใบพืชเพื่อให้ใบพืชทำการปรุงเป็นอาหารสำเร็จ จากนั้นลำเลียงส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อสร้างส่วนที่เป็น ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก และเกิดเป็นผลผลิตต่อไป
ดังนั้นต้องมีแหล่งน้ำที่ดี เพียงพอและอยู่ไม่ไกล ไร้สารพิษไม่มีโลหะหนักและสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้า หรือ ยาฆ่าแมลง ระบบน้ำเข้าถึงและสะดวกในการเคลื่อนย้ายน้ำมารดน้ำต้นไม้ และควรตรวจเช็คค่า pH ของน้ำที่ใช้รดให้อยู่ที่ 5.5 – 6.5 สม่ำเสมอ
พืชสกุลกัญชาต้องการความชื้นมากที่สุดในช่วง 6 สัปดาห์แรก เนื่องจากเป็นช่วงที่เมล็ดกำลังงอก และเมื่อหลังจาก 6 สัปดาห์หลังการงอกจากเมล็ด พืชสกุลกัญชาสามารถทนต่อการสภาพแห้งแล้งได้ เนื่องจากต้นพืชสกุลกัญชามีรากที่สามารถหยั่งลึกลงในดิน 2-3 เมตร
ทำให้สามารถหาความชื้นที่สะสมอยู่บริวณดังกล่าว อย่างไรก็ตามการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งรุนแรง ส่งผลให้การเจริญเติบโตลดลงและแคระแกรน โดยทั่วไปพืชสกุลกัญชาต้องการปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 500-600 มิลลิเมตรต่อวงจรชีวิต
โดยต้องการปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 250-350 มิลลิเมตร ในช่วงระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นซึ่งความต้องการน้ำของพืชสกุลกัญชามีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพันธุ์ของพืชสกุลกัญชา ดิน สภาพอากาศ และการจัดการภายในแปลง
แสง
ความสำคัญของแสง สำหรับปลูกกัญชา
การปลูกกัญชา Outdoor ต้องใช้แสงของดวงอาทิตย์เป็นหลัก บริเวณที่ปลูกควรเป็นที่โล่ง ไม่มีร่มเงาบังแสง ต้นกัญชาต้องการแสงสว่างอย่างเพียงพอ กัญชาเป็นพืชวันสั้น ความสั้น-ยาวของวันสัมพันธ์กับปริมาณแสงได้รับในแต่ละวัน ซึ่งปริมาณแสงที่ต้นพืชสกุลกัญชาได้รับแสงต่อวันมีผลต่อการพัฒนาจากระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นไปสู่ระยะออกดอก
ดังนั้นการวางแผนการปลูกที่เหมาะสมตามช่วงเวลาสั้น-ยาวของวัน จะทำให้พืชสกุลกัญชาที่ปลูกมีผลผลิตสูงเนื่องจากต้นพืชสกุลกัญชามีช่วงเวลาการเจริญเติบโตทางลำต้นที่ยาวนานเพียงพอ ทำให้สามารถผลิตช่อดอกหรือผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
แสงแดดถือเป็นแหล่งพลังงานของต้นกัญชาที่จะนำไปใช้ปรุงอาหารเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของต้นทำให้ทุกส่วนของต้นกัญชา (ราก,ลำต้น, กิ่งก้าน, ใบ, ดอก) มีการขยายตัวเพิ่มและมีจำนวนหรือ ปริมาณมากขึ้น กัญชาประเภทไวแสง (Photo) มีวงจรชีวิตตามชั่วโมงของแสง ถ้าได้รับแสงมากกว่า 12 ชม.ขึ้นไป ต้นกัญจะไม่ออกดอกสืบพันธุ์ แต่เมื่อใดที่ได้รับแสงต่ำกว่า 12 ชม. ก็จะออกดอกสืบพันธุ์
เพราะฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกัญชาประเภท Photo คือช่วงที่มีแสงมากกว่า 12 ชม. ซึ้งจากข้อมูล “ปริมาณชั่วโมงของแสงที่ได้รับในช่วงเวลากลางวันของประเทศไทย” จะเป็นช่วงกลางเดือนมีนาคม การปลูกช่วงนี้จะทำให้ต้นกัญชามีเวลาทำใบมากขึ้น ทำให้ต้นใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นไปด้วย
ในช่วงออกดอกกัญชาจะมีความต้องการแสงที่เข้มข้น เพราะแสงเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลิตดอก เพื่อให้ได้คุณภาพผลผลิตดีที่สุด ควรให้ดอกสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง จะทำให้ดอกของพืชอวบอ้วนมากขึ้นกว่าดอกที่อยู่ใต้ใบและไม่โดนแสง
ดิน
ความสำคัญชองดิน สำหรับปลูกกัญชา
ดินเป็นมวลที่ยึดเกาะของต้นพืช ทำให้ต้นพืชตั้งต้นอย่างมั่นคง และยังเป็นแหล่งอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุง ของต้นพืชด้วย และช่วยรักษาความชื้น กักเก็บธาตุอาหารต่าง ๆ เอาไว้
ดินสำหรับปลูกกัญชาให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีควโครงสร้างร่วนซุย (Loose) ระบายน้ำได้ดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ซึ่งสภาพดินที่หมาะสมควรมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5 -6.5 และเนื้อดินที่เหมาะสมในการปลูก คือ เนื้อดินร่วนปนทราย (Sandy loam) แต่เนื้อดินที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ดินเหนียวจัด (Heavy clay) เนื่องจากมีการระบายน้ำ และอากาศไม่ดี และ ดินทราย (Sandy soil) มีข้อจำกัดเรื่องของการอุ้มน้ำ เก็บน้ำไม่อยู่ทำให้สภาพของดินแห้ง
พื้นที่ปลูกกัญชาสภาพดินไม่ควรมีชั้นดานภายในแปลง นอกจากจะทำให้รากของกัญชาเมื่อเจริญไปถึงชั้นดานรากจะมีลักษณะเป็นรูปตัว L ทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้น้ำ และธาตุอาหารลดลง นอกจากนี้ชั้นดานส่งผลให้เกิดการระบายน้ำไม่ดี เกิดสภาพน้ำขังใต้ผิวดิน (water logging) ทำให้ต้นกัญชาภายในแปลงเกิดรากเน่า โดยเฉพาะในช่วงระยะต้นกล้า
ความลาดชัน
ความสำคัญของความลาดชัน สำหรับปลูกกัญชา
ความลาดชันเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการจัดการแปลงและการเก็บเกี่ยว โดยพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35% ไม่ควรปลูกพืชสกุลกัญชา เนื่องจากจะทำให้มีปัญหาในการเก็บเกี่ยว และความลาดชันในอุดมคติที่เหมาะสมกับการปลูกกัญชา คือ ความลาดชันที่ 5% เนื่องจากหากมีความลาดชันเกิน 5% จะทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินในช่วงฤดูฝน
อากาศ
ความสำคัญของอากาศ สำหรับปลูกกัญชา
ต้นพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงานแสงแดด สร้างคาร์โบไฮเดรตเพื่อการเจริญเติบโต คาร์บอนไดออกไซด์นั้นคือวัตถุดิบตัวหนึ่งที่มีความสำคัญกับการเจริญเติบโตของพืชเรียกว่าปุ้ยอากาศธาตุก็ว่าได้เพราะ CO2 จะถูกกระบวนการนี้แยกแยะเอา C ออกมารวมกับสารตัวอื่น และสร้างตัวเป็นอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จากนั้นจึงขับเอา O2 และน้ำออกไปในบรรยากาศ ถ้าบรรยากาศที่ใดมีความเข้มข้นของ CO2 สูง พืชในบริเวณนั้นก็จะโตไวมากกว่าบริเวณอื่นที่มีความเข้มข้นของ CO2 ต่ำ
อากาศ มีส่วนช่วยในการหายใจของพืช พืชจะใช้ CO2 และปล่อย O2 ในการหายใจ หรือสังเคราะห์แสงตอนกลางวัน และใช้ O2 ปล่อย CO2 ในตอนกลางคืน ไม่เพียงแต่ต้นไม้ที่ต้องการอากาศ จุลินทรีย์ในดินยังต้องการเช่นกัน ดังนั้นอากาศจึงมีความสำคัญกับการเจริญเติบโตของพืชรวมไปถึงความชื้นที่หมาะสมแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ก็จะทำให้พืชเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
ข้อดีข้อเสียของการปลูกกัญชาแบบกลางแจ้ง
ข้อดี
- ต้นทุนต่ำ
- ผลผลิตสูง
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- อากาศถ่ายเทได้ดี
- มีพื้นที่ในการปลูกมากกว่า
- ไม่ต้องควบคุมปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช
ข้อเสีย
- ควบคุมชั่วโมงแสงไม่ได้ควรปลูกตามฤดูกาล
- ควบคุมสารอาหารในดินไม่ได้หากปลูกลงดิน
- ป้องกันฝนได้ยากควรทำ GreenHouse
- ป้องกันแมลงได้ยาก
- ป้องกันเชื้อราได้ยาก
- ระบุปัญหาของพืชได้ยาก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ ท่านคงได้เข้าใจเกี่ยวกับการปลูกกัญชากลางแจ้ง หรือระบบเปิด (Outdoor) แล้ว จากข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม skycannabisthailand ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
ที่มาข้อมูล : thaihometown
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 063-649-5638 หรือ 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed