ประวัติความเป็นมาของกระท่อม

ประวัติความเป็นมาของกระท่อม

หากจะพูดถึงต้นกระท่อมเชื่อว่าหลายคนมองไปถึงสารเสพติด เพราะแต่เดิมนั้นถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูพิจารณายกเลิกจากทะเบียนดังกล่าวแล้ว ทำให้เราสามารถนำมาใช้ประโยชนได้ภายใต้ขอบเขตที่ พรบ.ระบุ พืชชนิดนี้จัดเป็นกลุ่มพืชที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาอยู่ไม่น้อย และใครที่กำลังข้องใจ ทั้งอยากรู้ว่าพืชตัวนี้คืออะไร มีถิ่นกำเนิดมาจากไหน เราได้รวบรวม ประวัติความเป็นมาของกระท่อม เอาไว้ที่นี่แล้ว เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ก็ไปศึกษาพร้อมกันเลย

ประวัติความเป็นมาของกระท่อม มีถิ่นกำเนิดมาจากไหน

พืชกระท่อม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil เป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae สำหรับถิ่นกำเนิดของต้นกระท่อมนั้นจะอยู่ในเขตร้อนชื้นทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้นอกจากประเทศไทย แล้วก็ยังมี เกาะนิวกินี มาลายู และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้พืชกระท่อมอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานในหลายประเทศโดยไม่ผิดกฎหมาย อาทิ ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย เพราะเป็นแหล่งที่ดินมีความชื้นสูง อุดมสมบูรณ์ เก็บความชุ่มชื้นได้ดี และชื่นชอบแสงแดดปานกลาง

พืชกระท่อมที่นำมาใช้อยู่ในรูปของ ต้น ใบ ราก อีกทั้ง ในข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ไม่ได้กำหนดให้กระท่อมเป็นสิ่งเสพติดหรือผิดกฎหมาย สำหรับประเทศไทยพบว่า มีการบริโภคกันมากในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย พืชกระท่อมเคยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเทศไทย แต่บริบทดั้งเดิมนั้นพืชกระท่อมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน นอกจากใช้บริโภคเพื่อช่วยให้ทำงานได้มากแล้ว ในพื้นที่ภาคใต้นั้นใช้พืชกระท่อมในการต้อนรับแขก นำมาเคี้ยวระหว่างพบปะพูดคุย เช่นเดียวกับหมากพลู การบริโภคนั้นนิยมการเคี้ยวใบสด หรือนำใบมาย่างให้เกรียมและตำผสมกับน้ำพริกเป็นอาหาร

ประเทศไทยมีพืชกระท่อมกี่สายพันธุ์

ซึ่งหากถามว่าในประเทศไทยเรามีกี่สายพันธุ์ อะไรบ้าง ตอบเลยว่ามีด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ

  1. พันธุ์ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่)
  2. พันธุ์แตงกวา (ก้านเขียว)
  3. พันธุ์ก้านแดง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ประเทศไทยในภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้เรียก “ท่อมหรือท่ม” ในบริเวณคาบสมุทรมลายูเรียก “คูทุม (Kutum)” หรือ “คีทุมเบีย (Ketum Bia)” หรือ “เบียก (Biak)” ลาวเรียก “ไนทุม (Neithum)” คาบสมุทรอินโดจีนเรียก “โคดาม (Kodam)”

ประเทศไทยพบได้เยอะที่ จ.ปทุมธานี หรือในภาคใต้ตามชายป่าธรรมชาติ เช่น ป่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา สงขลา พัทลุง ฯลฯ

ลักษณะทั่วไปของกระท่อม

ต้นกระท่อม

ต้นกระท่อม หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์กาแฟ ใบสีเขียว ในส่วนของลำต้นจะมีความใหญ่ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ส่วนใบเป็นแบบเลี้ยงเดี่ยว ผลิใบแบบขึ้นตรงกันข้าม ถ้าใบแก่จะมีสีเขียวอ่อน ตัวก้านมีสีแดงกับเขียวยาว 2 – 3 ซม. ยาว 10 – 18 ซม. กว้าง 6 – 10 ซม. บริเวณปลายใบจะแหลม มีติ่งเล็ก ๆ ขอบเรียบ เส้นแขนงยาวแตกชัดประมาณ 8 – 12 คู่ ออกดอกเป็นตุ่มช่อทรงกลม สีขาวอมเหลืองขนาด 3 – 5 ซม. นอกจากนี้ ยังมีผลเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 5 – 7 มม.

สาระสำคัญที่พบในใบกระท่อม

สาระสำคัญที่พบในใบกระท่อม คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นานและทนต่อความร้อนมากขึ้น ดังนั้น จึงทำให้ผู้ที่ใช้พืชกระท่อมสามารถทำงานกลางแจ้งได้ทนเป็นเวลานานขึ้น โดยไม่รู้สึกเหนื่อย และบรรเทาอาการปวด

สรรพคุณทางยาของพืชกระท่อม

เป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับประเภทยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท ในแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่จะนำพืชกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง รักษาโรคเบาหวาน ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับกับความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกระท่อม ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะวันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

ที่มาข้อมูล : ร้อยเรื่องเมืองไทย/หอสมุดรัฐสภา


หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Website: skycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826 

LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed