การใช้กัญชาในโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสั่น กล้ามเนื้อแข็ง และเคลื่อนไหวช้า ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่มีวิธีการบรรเทาอาการที่หลากหลาย รวมถึงการใช้กัญชาในการช่วยบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน การวิจัยเกี่ยวกับกัญชาและผลกระทบต่อโรคพาร์กินสันกำลังเป็นที่สนใจในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ในบทความวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ การใช้กัญชาในโรคพาร์กินสัน มาไว้ให้ท่านแล้วที่นี่ จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปดูกันได้เลยค่ะ
ทำความเข้าใจ การใช้กัญชาในโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาเพื่อหยุด หรือชะลอความเสื่อมของระบบประสาทที่เกิดขึ้น และ สารแคนนาบินอยด์ ถูกนำมาศึกษาวิจัยเพื่อการรักษาโรคพาร์กินสัน ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย จึงมีความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้สารแคนนาบินอยด์ ในโรคพาร์กินสัน
การใช้กัญชาในการรักษาโรคพาร์กินสัน มีการศึกษา และการสำรวจวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งมีการสังเกตผลลัพธ์ที่มีความสัมพันธ์กับอาการเคลื่อนไหวแบบผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้
สารประกอบในกัญชาที่มีผลต่อโรคพาร์กินสัน
กัญชาประกอบด้วยสารสำคัญสองชนิดคือ THC (tetrahydrocannabinol) และ CBD (cannabidiol) ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบประสาทแตกต่างกัน
- THC มีคุณสมบัติในการลดอาการเจ็บปวด ลดอาการเกร็ง และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- CBD มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และมีผลกระทบต่อระบบประสาทที่ช่วยลดอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า
ทำไมกัญชาถึงลดอาการของผู้ป่วยพาร์กินสันลงได้ เนื่องจากกัญชามีสารตัวหนึ่งชื่อ สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ทำหน้าที่คล้ายระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารโดพามีน มีผลลดการอักเสบของสมอง ทำให้ระบบการหลั่งสารสื่อประสาททำงานได้ดีขึ้น
มีการศึกษาผลของกัญชาในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยให้สารสกัดจากกัญชาแก่ผู้ป่วยวันละ 2 – 5 หยดซึ่งเป็นปริมาณที่ปลอดภัย และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ระหว่างก่อนและหลังการให้สารสกัดจากกัญชา พบว่าสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
นอกจากนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง และไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับและไต แต่ทั้งนี้การใช้สารสกัดจากกัญชา สมุนไพร หรือยาใด ๆ อาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ จะต้องใช้ความระมัดระวัง และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ผลกระทบของกัญชาต่ออาการโรคพาร์กินสัน
การใช้กัญชาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีผลกระทบต่ออาการต่าง ๆ ของโรคดังนี้
- ลดอาการสั่น การใช้กัญชาอาจช่วยลดอาการสั่นที่เกิดจากโรคพาร์กินสันได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ สาร THC ในกัญชามีคุณสมบัติช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- บรรเทาอาการปวด กัญชามีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดที่มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคพาร์กินสัน
- ช่วยให้นอนหลับ การใช้กัญชาอาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีปัญหานอนไม่หลับสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ในสมอง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาทำได้เพียงการชะลอการเสื่อมของสมองให้ได้นานที่สุด ซึ่งการรักษาทางยาปัจจุบันจะให้ยาเลโวโดปา (Levodopa) และยาเสริมตัวรับโดพามีน(Dopamine agonist) เป็นหลัก
ส่วนการใช้สารสกัดจากกัญชาปัจจุบันยังให้ได้ในผู้ป่วยบางกรณีเท่านั้น ซึ่งต้องศึกษาประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงต่อไป การรักษาโรคพาร์กินสันอีกส่วนที่สำคัญคือการทำกายภาพบำบัด
ดังที่กล่าวข้างต้นเนื่องจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว และทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาควรควบคู่กันไประหว่างการให้ยา และการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
การใช้กัญชาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
การใช้กัญชาในการรักษาโรคพาร์กินสันควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อปรับปริมาณการใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน และลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย
- การใช้กัญชาในรูปแบบน้ำมัน น้ำมันกัญชาเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในการบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย
- การสูบหรือการใช้ในรูปแบบของควัน แม้ว่าการสูบหรือใช้ในรูปแบบของควันอาจให้ผลเร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจ
ข้อควรระวังในการใช้กัญชา
การใช้กัญชาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรพิจารณาข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้
- ผลข้างเคียง การใช้กัญชาอาจมีผลข้างเคียง เช่น เวียนหัว คลื่นไส้ หรือมีอาการวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
- ปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ กัญชาอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เช่น ยาต้านพาร์กินสัน ซึ่งอาจทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
- การติดตามผล ควรมีการติดตามผลการใช้กัญชาในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงการรักษาให้เหมาะสม
หากคุณมีโรคพาร์กินสัน หรือรู้สึกว่ามีอาการที่คล้ายกับโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางการแพทย์ที่เหมาะสมต่อสภาวะของคุณได้ อาจมีการใช้ยาและการรักษาอื่น ๆ ที่เป็นทางเลือกในการจัดการกับอาการของโรคพาร์กินสันที่ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์ เช่น ยากันออกซิเดชัน (Antioxidants) หรือยาเพื่อควบคุมอาการสั่น (Anticholinergics) อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในการรักษาควรพิจารณาตามคำแนะนำและการปรึกษาจากแพทย์ที่เชื่อถือได้เสมอ
สรุป
การใช้กัญชาในการรักษาโรคพาร์กินสันมีศักยภาพในการบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ลดอาการสั่น อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยเกี่ยวกับกัญชาและโรคพาร์กินสันยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความเข้าใจและประสิทธิภาพในการใช้กัญชาเป็นทางเลือกในการรักษาโรคนี้ในอนาคต
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ท่านคงได้รู้เกี่ยวกับ การใช้กัญชาในโรคพาร์กินสัน กันแล้วนะคะ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของการใช้กัญชาในโรคพาร์กินสัน หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความวันนี้กันนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
ขอบคุณที่มาข้อมูล : rebrain-physio.com
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 063-649-5638 หรือ 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed