การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
กัญชาได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และการรักษาทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ในบทความวันนี้ทาง SKY CANNABIS (Thailand) เราพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย
ทำความรู้จักกับ การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีประวัติการใช้กัญชาเป็นยามานาน ก่อนที่จะถูกห้ามใช้อย่างเข้มงวดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา จนกระทั่ง รัฐบาลได้อนุมัติให้กัญชาเป็นพืชที่สามารถใช้ทางการแพทย์ได้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการนำกัญชากลับมาใช้ในทางที่ถูกกฎหมายและมีประโยชน์ทางการแพทย์ สำหรับประเทศไทย การใช้กัญชาทางการแพทย์ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกกัญชา การผลิต การแปรรูป การสกัด และการจ่ายยา
ประโยชน์ของ การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์กัญชามีสารออกฤทธิ์หลักสองชนิดคือ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน โดยทั่วไป กัญชาทางการแพทย์สามารถใช้เพื่อ
- บรรเทาอาการปวด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้อ ปวดจากมะเร็ง
- ลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสามารถทนต่อการรักษาได้ดีขึ้น
- ช่วยให้หลับสบาย สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ
- บรรเทาอาการชัก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคลมชัก
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีใช้ในประเทศไทย
ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีใช้ในประเทศไทยมีดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม (GPO)
- น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นที่มีเฉพาะ THC เท่านั้น
- มีน้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นที่มีทั้ง THC และ CBD ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
- น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นที่มีเฉพาะ CBD เท่านั้น
- ผลิตภัณฑ์ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นที่มีเฉพาะ THC เท่านั้น หรือ มีทั้ง THC และ CBD ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 หรือ มีเฉพาะ CBD เท่านั้น (คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ดังกล่าวในข้อ 1)
- ผลิตภัณฑ์กัญชาตำรับยาแผนไทยของโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (ใช้ชื่อว่า อาจารโร เฮิร์บ)
เป็นผลิตภัณฑ์ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ปัจจุบันมีทั้งหมด 16 ตำรับ เช่น
- ตำรับศุขไสยาศน์ (ช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร ฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง)
- ตำรับอัคคินีวคณะ (แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุทั้ง 4 ชูกำลัง)
- ตำรับทัพยาธิคุณ (ลดอาการมือชาเท้าชาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และใช้รักษาอาการมือเท้าบวมในผู้ป่วยมะเร็งตับ)
- ตำรับทำลายพระสุเมรุ (บรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง ชา ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและลดผลข้างเคียงของการรักษา การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาต่าง ๆ ข้างต้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์แผนที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการใช้งานผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
ในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
- ปรึกษาแพทย์ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเหมาะสม และรับใบสั่งยา
- ใช้อย่างระมัดระวัง ควรเริ่มจากขนาดเล็กและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์
- ปฏิบัติตามกฎหมาย การใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่กำหนด
ระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กัญชารูปแบบต่าง ๆ
ระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์สัมพันธ์กับรูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ดังนี้
- รูปแบบสูบควันหรือสูดไอระเหย (เช่น การพันมวนสูบ การสูบโดยใช้ไปป์ การสูบโดยใช้บ้อง หรือ การสูบไอระเหยผ่านอุปกรณ์พิเศษ) การใช้กัญชารูปแบบนี้ สารสำคัญ เช่น THC จะเริ่มออกฤทธิ์ราว 5 นาทีหลังสูบควันหรือสูดไอระเหย ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการเมากัญชา ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้ใช้มักอารมณ์ดี คอแห้ง ตาแดง และง่วงหลับ
- รูปแบบสเปรย์ผ่านเยื่อบุช่องปาก (เช่น ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเส้นประสาท หรือบรรเทาอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อจากโรคปลอกประสาทเสื่อม) การใช้ผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้ สารสำคัญจะเริ่มออกฤทธิ์ราว 30 นาทีหลังสเปรย์ผ่านเยื่อบุช่องปาก (หมายเหตุ: รูปแบบนี้น่าจะเทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้น)
- รูปแบบรับประทาน การใช้ผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้ สารสำคัญจะเริ่มออกฤทธิ์ราว 2-3 ชั่วโมงหลังรับประทาน
สรุป
การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ และสามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้หลากหลาย แต่การใช้งานต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดในการรักษา อย่างไรก็ตาม การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาต และควบคุมอย่างเข้มงวดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลเท่านั้น และการใช้กัญชาทางการแพทย์ ควรใช้ในกรณีที่มีคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้กัญชานั้นเป็นประโยชน์ และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ท่านคงได้เกี่ยวกับ การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย กันแล้วนะคะ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความวันนี้กันนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการ ในทางแอดมิน ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตาม SKY CANNABIS (Thailand) ของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุก ๆ วัน วันนี้ก็ของลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
ขอบคุณที่มาข้อมูล : รศ.ดร.นพ.ศุภนิมิต ทีฆชุณหเถียร หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm
หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ
Website: skycannabisthailand.com
Tel : 064-530-2826
LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed