วิธีใช้ใบกระท่อม

วิธีใช้ใบกระท่อม เคี้ยวใบสด หรือ บดใบแห้งผง ละลายน้าดื่ม บางรายเติมเกลือ เพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียงสองถึงสามใบ และดื่มน้าอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ สามถึงสิบ ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ

วิธีใช้ใบกระท่อม ให้ปลอดภัย

พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุขกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว ไม่อยากอาหาร
กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นาน ทนแดดมากขึ้น

แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้ใช้จะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ ถ้าใช้ใบกระท่อมในปริมาณมากๆ

จะทำให้ มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน เมากระท่อม แต่ในบางรายใช้เพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้ ในรายที่ใช้ใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้าและเข้มขึ้น

และยังพบอีกว่าใช้กระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจาก ตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ถุงท่อม ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของ กระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร

ใบกระท่อม เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีสรรพคุณทางยา อีกทั้งในต่างประเทศก็ใช้ประโยชน์ของใบกระท่อมอย่างเสรีมาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน ดังนั้นหลังจากที่มีประกาศถอนกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภท 5 พืชชนิดนี้ก็กลายเป็นประเด็นที่คนสนใจกันมาก ทั้งในแง่ของการส่งเสริมพืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ และการวิจัยเพื่อรักษาโรค

สารในใบกระท่อม
พืชกระท่อมมีสารแอลคะลอยด์ Mitragynine อยู่ในใบ มีฤทธิ์ระงับอาการปวด เช่นเดียวกับมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ากว่ามอร์ฟีนประมาณ ๑๐ เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลายประการ

  • กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ
  • ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • พัฒนาการในการติดยาเกิดช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี
  • ไม่มีปัญหาเรื่องอาการอยากได้ยา (Craving) จึงไม่มีกรณีผู้ติดกระท่อม ก่อเหตุร้ายหรือพัวพันกับอาชญากรรมใดเลย
  • อาการขาดยาไม่ทรมานเท่ามอร์ฟีน และสามารถบำบัดได้ง่ายกว่ายากล่อมประสาท ระยะ ๒ – ๓
  • สัปดาห์ ขณะที่ผู้ติดมอร์ฟีนอาจต้องพึ่ง Mitragynine ซึ่งเป็นสารใช้ติดเช่นเดียวกัน เป็น เวลานาน ๓ เดือนขึ้นไป
  • การควบคุมทางกฎหมาย ไม่มีสนธิสัญญาที่เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการปลูกเหมือนฝิ่น
  • ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้

ใครบ้าง ที่ไม่ควรใช้ใบกระท่อมเลย ?

  • ผู้หญิงที่ท้องและให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจ
  • ผู้ที่มีการติดสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

Facebook : บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม หรือ Bannongthongchan Farm

หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางติดตามอื่น ๆ

Website: skycannabisthailand.com

Tel :  063-649-5638 หรือ 064-530-2826 

LINE : Monkey Rolling หรือ LINE@ : Monkey Rolling Weed